ที่ตั้งอาณาเขต
ตำบลสำโรง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี อยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ประมาณ 125 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอโพธิ์ไทร ประมาณ 30 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 173 ตารางกิโลเมตร (108,125 ไร่)
อาณาเขตการติดต่อ
ทิศเหนือ | ติดกับแม่น้ำโขง | ||
ทิศใต้ | ติดกับตำบลนาเลิน | อำเภอศรีเมืองใหม่ | ระยะทาง 20 กิโลเมตร |
ทิศตะวันออก | ติดกับตำบลหนามแท่ง | อำเภอศรีเมืองใหม่ | ระยะทาง 23 กิโลเมตร |
ทิศตะวันตก | ติดกับตำบลเหล่างาม | อำเภอศรีเมืองใหม่ | ระยะทาง 2 กิโลเมต |
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ หรือที่ราบสลับภูเขา ลาดเอียงไปทางตะวันออก มีแม่น้ำโขงเป็นแนวเขตกั้นกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลักษณะภูมิสัณฐานของตำบลสำโรง แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้
1) บริเวณ ที่เป็นสันดินริมน้ำ (River levee) เกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนิน สันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง
2) บริเวณที่ลาดเชิงเขา (Foot hill slope) เป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิด จากขบวนการของน้ำนานมาแล้วทับถมกัน
3) บริเวณที่ลาดเชิงซ้อน (Slope complex) ลักษณะเป็นภูเขาหรือเทือกเขามีความลาดชัน
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแบบร้อนชื้น หรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้า สะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ได้รับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดมวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุม ประเทศไทย ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ทําให้มีอากาศหนาวเย็นและแห่งทั่วไป อีกชนิดหนึ่ง คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม ทําให้มีฝนตกชุกทั่วไป มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.0 องศาเซลเซียส และ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.1 องศาเซลเซียส จากอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาลทั้ง 2 ชนิด จึงทำให้สภาพภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห่ง โดยมีอากาศหนาวจัดในบางวัน และเดือนที่มีอากาศหนาวมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงปกคลุมประเทศไทยในช่วงดังกล่าวด้วย
ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นที่มีอากาศร้อนอบอ้าว โดยทั่วไป โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ่าวที่สุดของปี
ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเอา ความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรมาปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับในช่วงดังกล่าวร่องความกดอากาศต่ำที่พาด
ลักษณะของดิน
ดินในพื้นที่ตำบลสำโรง มี 3 ลักษณะ ดังนี้
1) ดินทราย เป็นดินที่ประกอบด้วยทรายตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยน้ำหนักมีสมบัติเหมือนทราย น้ำซึมผ่านได้ง่ายมาก
2) ดินร่วน เป็นดินที่ประกอบด้วย ทราย โคลนตม และดินเหนียว โดยมีปริมาณดินทรายและดินเหนียวไม่มากนัก ดังนั้น น้ำและอากาศจึงไหลผ่านดินร่วนได้ดีกว่าดินเหนียว
3) ดินเหนียว เป็นดินที่มีเนื้อละเอียดแน่น อุ้มน้ำได้ดี และไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืช
ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ, ลำห้วย ในพื้นที่ 11 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ | บ้าน | ชื่อห้วย | รองรับน้ำ ลบ.ม. |
กว้าง ม. |
ยาว ม. |
ลึก ม. |
สภาพการ ใช้ประโยชน์ |
1 | นาเจริญ | ห้วยเหล่าหญ้า ห้วยหินฮาว |
72,000 90,000 |
10 10 |
3,600 4,500 |
2 2 |
ใช้ได้ ใช้ได้ |
2 | นาห้าง | ห้วยบง ห้วยสะทุง ห้วยไร่ |
16,000 100,000 20,000 |
10 10 10 |
800 5,000 1,000 |
2 2 2 |
ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ |
3 | นาหว้า | ห้วยบง | 80,000 | 10 | 4,000 | 2 | ใช้ได้ |
4 | นาขาม | ห้วยไร่ ห้วยบง |
10,000 40,000 |
10 10 |
500 2,000 |
2 2 |
ใช้ได้ ใช้ได้ |
5 | สำโรง | ห้วยลอดพื้น ห้วยสะทุง |
50,000 340,000 |
10 10 |
2,500 1,700 |
2 2 |
ใช้ได้ ใช้ได้ |
6 | ร่องคันแยง | ห้วยมะเขือ ห้วยลำศาลา |
66,000 16,000 |
10 10 |
3,300 800 |
2 2 |
ใช้ได้ ใช้ได้ |
7 | ผาชัน | ห้วยซาง | 99,000 | 10 | 3,300 | 3 | ใช้ได้ |
8 | ร่องคันแยง | ห้วยสะทุง ห้วยฉลอง |
46,000 110,000 |
10 10 |
2,300 5,500 |
2 2 |
ใช้ได้ ใช้ได้ |
9 | โนนศาลา | ห้วยไร่ ห้วยสะทุง |
60,000 64,000 |
10 10 |
3,000 3,200 |
2 2 |
ใช้ได้ ใช้ได้ |
10 | น้ำคำ | ห้วยบง | 32,000 | 10 | 1,600 | 2 | ใช้ได้ |
11 | สะเอิงทอง | ห้วยแคน 1 ห้วยแคน 1 ห้วยนาไร่เดียว |
40,000 40,000 60,000 |
10 10 10 |
2,000 2,000 3,000 |
2 2 2 |
ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ |
- บึงหนอง
หมู่ | บ้าน | ชื่อห้วย | รองรับน้ำ ลบ.ม. |
กว้าง ม. |
ยาว ม. |
ลึก ม. |
สภาพการ ใช้ประโยชน์ |
1 | นาห้าง | หนองสิม | 10,500 | 50 | 70 | 3 | ใช้ได้ |
2 | ผาชัน | บุ่งพละดอน | 16,000 | 40 | 200 | 2 | ใช้ได้ |
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย
หมู่ | บ้าน | ชื่อห้วย | รองรับน้ำ ลบ.ม. |
กว้าง ม. |
ยาว ม. |
ลึก ม. |
สภาพการ ใช้ประโยชน์ |
1 | นาเจริญ | ฝายภูหินเหล็กไฟ ฝายห้วยเหล่า |
31,200 12,000 |
80 10 |
130 600 |
3 3 |
ใช้ได้ ใช้ได้ |
2 | นาห้าง | ฝายแก้งม่วงไข่ | 8,400 | 70 | 120 | 1 | ใช้ได้ |
3 | นาหว้า | ฝายห้วยบง | 544,000 | 160 | 170 | 2 | ใช้ได้ |
4 | นาขาม | ฝายวังตลาด | 160,000 | 200 | 400 | 2 | ใช้ได้ |
5 | สำโรง | ฝายแก้งหว้า | 2,625 | 35 | 50 | 1.5 | ใช้ได้ |
6 | ร่องคันแยง | ฝายร่องคันแยง | 1,200 | 4 | 150 | 2 | ใช้ได้ |
7 | ผาชัน | ฝายวังอีแร้ง 1 ฝายวังอีแร้ง 2 |
28,274 27,300 |
67 70 |
211 195 |
2 2 |
ใช้ได้ |
8 | ร่องคันแยง | ฝายห้ายฉลอง | 12,000 | 20 | 300 | 3 | ใช้ได้ |
9 | โนนศาลา | ฝายวังผีแต่ง | 83,700 | 135 | 310 | 2 | ใช้ได้ |
10 | น้ำคำ | ฝายวังโง่น | 10,000 | 25 | 200 | 2 | ใช้ได้ |
11 | สะเอิงทอง | ฝายหลวงห้วย | 30,000 | 50 | 100 | 6 | ใช้ได้ |
- สระน้ำ
หมู่ | บ้าน | ชื่อห้วย | รองรับน้ำ ลบ.ม. |
กว้าง ม. |
ยาว ม. |
ลึก ม. |
สภาพการ ใช้ประโยชน์ |
1 | นาเจริญ | สระน้ำวัดนาเจริญ | 1,800 | 20 | 30 | 3 | ใช้ได้ |
2 | นาห้าง | สระน้ำโรงสีชุมชน สระน้ำคุ้มดอนเรือ สระน้ำหนองห้าง |
900 |
15 50 30 |
20 50 30 |
3 4 3 |
ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ |
3 | นาหว้า | สระเก็บน้ำโป่งปูน สระคึกฤทธิ์ |
68,000 1,200 |
100 20 |
170 40 |
4 1.5 |
ใช้ได้ ชำรุด |
4 | นาขาม | สระน้ำโป่งบก | 39,600 | 90 | 110 | 4 | ใช้ได้ |
5 | สำโรง | สระน้ำห้วยร่องไผ่ 1 สระน้ำห้วยร่องไผ่ 2 |
45,000 15,000 |
100 100 |
150 50 |
3 3 |
ใช้ได้ ใช้ได้ |
6 | ร่องคันแยง | สระน้ำร่องคันแยง โรงเรียนผอบ ณ นคร |
45,000 15,000 |
100 100 |
150 50 |
2 | ใช้ได้ ใช้ได้ |
9 | โนนศาลา | สระน้ำวัดไชยมงคล | 1,800 | 20 | 30 | 3 | ใช้ได้ |
10 | น้ำคำ | สระน้ำวัดป่าเจริญธรรม | 13,608 | 68 | 72 | 3 | ใช้ได้ |
- ประปาหอถังสูง 36 แห่ง
ที่ | หมู่ | จุด | ความจุ ลบ.ม. |
กว้าง ม. |
ยาว ม. |
สูง ม. |
สภาพการ ใช้ประโยชน์ |
1 | 1 | จุดกลางบ้าน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
2 | 1 | จุดบ้านนายสมหวัง | 5 | 2 | 2.5 | 1 | ใช้ได้ |
3 | 1 | จุดบ้านนายบานคำ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
4 | 2 | จุดตลาดชุมชน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
5 | 2 | จุดคุ้มดอนเรือ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
6 | 2 | จุดโรงสีชุมชน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
7 | 3 | จุดวัดดอดมณี | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
8 | 3 | ทางเข้าป่าชุมชน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
9 | 3 | จุดห้วยบง | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
10 | 3 | จุดตลาดชุมชน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
11 | 4 | จุดวัดท่าวารี | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
12 | 4 | จุดสระโป่งบก | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
13 | 4 | จุดคุ้มดอนหอ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
14 | 5 | จุดบ้านนายศักดิ์ศรี | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
15 | 5 | จุดคุ้มสำโรงน้อย | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
16 | 5 | จุดดอนเจ้าปู่ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
17 | 5 | จุด อบต.สำโรง | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
18 | 6 | จุดชลประทาน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
19 | 6 | จุดคุ้มตะวันตก | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
20 | 6 | จุดหน้า ร.ร. ผอบ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
21 | 7 | จุดวัดผาสวรรค์ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
22 | 7 | จุดวังอีแร้ง | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
23 | 7 | จุดศูนย์ท่องเที่ยว | 5 | 2 | 2.5 | 1 | ใช้ได้ |
24 | 8 | จุดวัดป่าแสงอรุณ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
25 | 8 | จุดศาลาประชาคม | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
26 | 8 | จุดห้วยฉลอง | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
27 | 8 | จุดคุ้มบ้านใต้ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
28 | 8 | จุดบ้านนายนิราศ | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
29 | 8 | จุดคุ้มตะวันตก | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
30 | 9 | จุดวัดชัยมงคล | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
31 | 9 | จุดศาลาประชาคม | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
32 | 10 | จุดวัดป่าเจริญธรรม | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
33 | 10 | จุดตลาดชุมชน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
34 | 10 | จุดทางหนองฟานยืน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
35 | 11 | จุดคุ้มโนน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
36 | 11 | จุดกลางบ้าน | 10 | 2.5 | 2.5 | 1.6 | ใช้ได้ |
ลักษณะของไม้และป่าไม้
ตำบลสำโรง มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะหินโผล่ พื้นที่ราบสูงติดภูเขา พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตอุทยานแห่งชาติ ลักษณะของป่าเป็นป่าผลัดใบ ประกอบไปด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า โดยรวมแล้วมี ลักษณะเป็นป่าโปร่ง ในฤดูฝนป่าจะมองดูเขียวชะอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ส่วนใหญ่จะผลัดใบทำให้ป่าโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเป็นประจำ พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญ ได้แก่ ยางนา ประดู่ แดง มะค่าแต้ ตะแบก เต็ง รัง เหียง พลวง ติ้ว แต้ว สมอไทย ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ หญ้าเพ็ก